Domain Group (Local Domain, Global, Universal) Windows Server 2019


บทความนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับขอบเขตของ Domain Local, Global และ Universal ว่ามีความแตกต่าง ใช้งานยังไง และหลักการสร้าง Domain Group


หลักการและการทำงานของ Domain Group

Local Domain Group

สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มนี้จะสามารถเข้าถึงทรัพยากรณ์หรือสิทธิ์บนโดเมนตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถข้ามไปใช้ทรัพกรณ์ต่างโดเมนหรือต่าง Forest ได้ สมาชิกที่สามารถแอดเข้ามาได้ คือ User, Global group และ Universal group

Global Group

กลุ่มนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้วเป็น Global สามารถไปได้ทุกที่ แล้วเป็นค่าตั้งต้นเวลาเราสร้าง Group ซึ่ง Global group สามารถเป็นสมาชิกในกลุ่ม Domain Local และ Universal ซึ่งตามหลักแล้วเราจะแอด User หรือ Account เข้ามาไว้ใน Global group แล้วเอาไปแอดลงใน Domain Local เพื่อให้ได้สิทธิ์หรือทรัพยากรณ์ในโดเมนตัวเองได้

Universal

เราจะได้ใช้ Group นี้ก็ต่อเมื่อเราได้บริหาร 2 Forest ขึ้นไป ที่ต้องการเข้าถึงทรัพยากร์หรือสิทธิ์ต่าง Forest กัน โดยการแอด Global group เข้ามาเป็นสมาชิกแล้วเอา Universal ไปแอดลงใน Domain Local ของอีก Forest

หลักการ AGUDLP และ AGDLP

ความหมาของตัวย่อ

  • A ย่อมาจาก Account
  • G ย่อมาจาก Global group
  • U ย่อมาจาก Universal group
  • DL ย่อมาจาก Domain Local group
  • P ย่อมาจาก Permission
Domain Group
AGUDLP

AGUDLP คือ ในกรณีที่มีการแชร์ทรัพยากรณ์ต่าง Forest กัน เราควรจะทำการให้สิทธิ์โดย Group ซ้อน Group โดยเริ่มจาก นำ Account (A) ใส่ไว้ใน Global group (G) แล้วใส่ไปใน Universal group แล้วเอาไปใส่ไว้ใน Domain Local ของอีก Forest แล้วจึงกำหนดสิทธิ์ที่ Domain Local

ในกรณีที่เป็น Single Domain หรือ Forest เดียว จะเหลือแค่ AGDLP คือตัดส่วนของ Universal ออก นอกนั้นทำเหมือนเดิมทุกประการ

ส่วนในการทำงานจริง กรณีที่มีแค่ Forest เดียว ส่วนมากจะตัดเหลือ AGP คือ เอา Account ใส่ไว้ใน Global group แล้วกำหนดสิทธิ์ ซึ่งทำงานได้ไม่ติดปัญหาใดๆ

ทำไม Microsoft ถึงแนะนำให้ทำเป็น AGUDLP เหตุผลหนึ่งคือเรื่องของการจำกัดแบนด์วิธในการ replication ระหว่าง Domain หรือ Forest


ดูบทความย้อนหลัง


ติดตามได้ที่ช่อง Kamazon บน Youtube
Youtube