Join Domain คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อใน Domain Controller หรือ AD เดียวกัน เพื่อให้สามารถควบคุมกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ที่ Domain Controller เช่น ผู้ใช้ รหัสผ่าน การตั้งค่าต่างๆ ควบคุมแอพพลิเคชัน เป็นต้น
วิธีการ Join Domain บน Windows 10
ขั้นตอนที่ 1 เช็คว่าเครื่อง Client สามารถติดต่อกับ Domain Controller ได้หรือไม่ โดยการใช้คำสั่ง ping
ขั้นตอนที่ 2 เปิด System Properties ให้พิมพ์คำสั่ง sysdm.cpl
ขั้นตอนที่ 3 คลิกที่ปุ่ม Change
ขั้นตอนที่ 4 ใส่ชื่อ Domain และสามารถกำหนด Computer name ได้เลย แล้วกดปุ่ม OK
ขั้นตอนที่ 5 แล้วระบบจะให้เราใส่ User กับ Password ของ Domain Admin หรือ User ที่มีสิทธิ์สร้าง Computr Object หลังจาก Join Domian สำเร็จแล้ว ให้ Restart เครื่อง 1 ครั้งเป็นอันเสร็จสิ้น

ลงชื่อเข้าใช้ Domain User
หลังจาก restart เครื่องแล้ว ที่หน้าล็อกอิน ให้กดไปที่ Other user แล้วใส่ Username กับ Password
ถ้าต้องการล็อกอินผู้ใช้ในเครื่อง ให้ใส่ .\ แล้วตามด้วยชื่อผู้ใช้
ใช้คำสั่ง Whoami เพื่อตรวจสอบว่าเราล็อกอินด้วยโดเมนยูสเซอร์หรือโลคอลยูสเซอร์
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
คู่มือการ Join computer to Domain จาก เว็ป Microsoft
อ่านบทความย้อนหลัง
- Group Policy: Enable Remote Management
- ติดตั้ง Windows Server บน Hyper-V
- การติดตั้ง Active Directory บน Windows Server 2019
- การติดตั้ง DHCP Server บน Windows Server
- การ Join Domain บน Windows 10
- การ Delegate Control Active Directory
- การจัดการ Active Directory Object ด้วย Active Directory Users and Computers
- Domain Group (Local Domain, Global, Universal) Windows Server 2019