ในบทความนี้จะสอนการใช้งาน Google Classroom หรือ ห้องเรียนออนไลน์ บนแฟรตฟอร์มของกูเกิ้ล สำหรับอาจารย์หรือคุณครู เน้นสอนตั้งแต่ การเข้าใช้งาน การสร้างห้องเรียน การนำนักเรียนเข้าชั้นเรียน การใส่เนื้อหา การหมอบหมายแบบฝึกหัด ไปจนถึงการสร้างแบบทดสอบและสรุปผลคะแนน
สิ่งที่ต้องเตรียม
- บัญชีกูเกิ้ล หรือ บัญชี G Suite
- เนื้อหาของวิชาที่สอน
- ใบงานหรือแบบฝึกหัด
- แบบทดสอบหรือข้อสอบ
การเข้าใช้งาน
เปิดโปรแกรม Web Browser เช่น Google Chrome แล้วกดไปที่เว๊ป https://classroom.google.com/welcome
ถ้ายังไม่เคยล็อกอินจะปรากฏหน้าต่างให้ใส่อีเมลของ Google หรือบัญชีของ G Suit แล้วกดปุ่มถัดไป ที่หน้าต่างถัดไปให้เราใส่ password ของ Google หรือ G Suit แล้วกดปุ่มถัดไป


ถ้าหากเจอหน้าต่าง ปกป้องบัญชีของคุณ คือตรงนี้ในกรณีที่เราสมัคร Gmail มาใหม่มันจะให้เราใส่อีเมลสำรองหรือเบอร์โทรศัพท์ เพื่อเอาไว้ยืนยันตัวตนหรือ รีเซ็ตรหัสผ่าน ถ้าต้องการจะใส่ให้กดปุ่ม Update หรือถ้าจะทำทีหลังก็ให้กดปุ่มยืนยัน

ตอนนี้เราได้ทำการ login เข้า Google classroom เป็นที่เรียบร้อยแล้ วจะพบกับหน้าต่างที่แสดงบัญชีที่เราล็อกอินอยู่ปัจจุบันตรงนี้ ถ้าเห็นว่าไม่ใช่บัญชีของเรา ให้เรากดเปลี่ยนจากตรงนี้ได้เลย จากนั้นก็กดปุ่ม ทำต่อ ปุ่มสีฟ้าได้เลย

จากรูปด้านบนผมจะขออธิบายไปตามทีละตัวเลข
- หมายเลข 1 คือ ส่วนที่แสดงห้องเรียนแต่ละห้องหรือ ห้องเรียนที่เราไปเข้าร่วม ซึ่งตอนนี้มันยังว่างเปล่าอยู่เพราะเรายังไม่ได้เข้าไปร่วมหรือสร้างชั้นเรียน
- หมายเลข 2 คือเมนูหลักของ Google Classroom จะมีเมนูแยกย่อยอีก คือ ชั้นเรียน ปฏิทิน ฉันเรียนที่เก็บและการตั้งค่า
- หมายเลข 3 คือ ปุ่มสร้างชั้นเรียนหรือเข้าร่วมชั้นเรียน ซึ่งเราจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
- หมายเลข 4 คือ เมนูแอปอื่นๆ ของ Google
- หมายเลข 5 เป็นรูปโปรไฟล์ของบัญชีที่เราล็อกอินไว้
- หมายเลข 6 คือ ปุ่มขอความช่วยเหลือหรือคู่มือหรือ หรือขอดูฟีเจอร์ใหม่ๆของ Google Classroom
- หมายเลข 7 คือ ปุ่มสลับบัญชีในกรณีที่เราคิดว่าเราล็อกอินด้วยบัญชีที่ไม่ใช่ของเรา
การสร้างและตั้งค่าชั้นเรียน
การสร้างสรรค์เรียนให้เรากดเครื่องหมายบวก ที่อยู่ด้านขวาบน หรือตำแหน่งที่ 3 จากหัวข้อ ก่อนหน้านี้ เมื่อเรากดที่ปุ่มเครื่องหมายบวกจะมีตัวเลือกขึ้นมา 2 อัน คือ สร้างชั้นเรียนและเข้าร่วมชั้นเรียน ให้เรากดปุ่มสร้างชั้นเรียน เพื่อทำการสร้าง ฉันเรียนแรกของเรา

เมื่อเรากดปุ่มสร้างชั้นเรียนจะมีประกาศเกี่ยวกับบัญชี Google แบบทั่วไปกับบัญชีของ G Suite for Education ถ้าคุณครูใช้บัญชี Google แบบทั่วไป นักเรียนก็จะนักเรียนก็ต้องใช้บัญชี Google แบบทั่วไปด้วย ในกรณีที่คุณครูใช้บัญชีของ G Suite นักเรียนก็ต้องมีบัญชีของทีสุดเช่นกัน จากนั้นให้เราติ๊กเครื่องหมายถูกแล้วกดปุ่มทำต่อ

หน้าต่างสร้างชั้นเรียน
มี 2 หัวข้อที่เราต้องระบุนั่นก็คือ ชื่อชั้นเรียนและห้อง ในตัวอย่างการตั้งชื่อห้องจะใช้ปีการศึกษา ตามด้วยภาคเรียนที่ 1 เว้นวรรค ชื่อวิชา ส่วนการตั้งชื่อห้องในตัวอย่างจะขึ้นต้นด้วยตัว P หมายถึง ช่วงชั้นระดับประถม ส่วนตัวเลข 401 หมายถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้องที่ 1
คุณครูสามารถตั้งชื่อชั้นเรียนและชื่อห้อง ตามใจคุณครูได้เลยในตัวอย่างเป็นแค่ guideline เท่านั้น
เมื่อกำหนดชื่อชั้นเรียนและชื่อห้องเรียบร้อยแล้วให้คุณครูกดปุ่มสร้าง

เมื่อเราสร้างห้องเรียนสำเร็จ google จะใช้รหัสของชั้นเรียนเพื่อให้เรา นำรหัสนี้ บอกกับนักเรียนหรือนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน

พาทัวร์ Google Classroom
- หมายเลข 1 เมนูหลัก คุณครูสามารถเข้ามาดูงานที่รอตรวจได้ จากเมนูนี้
- หมายเลข 2 คือ ส่วนต่างๆ ของ Classroom มีด้วยกัน 4 ส่วน คือ ส่วนของการ Steam ส่วนของงานชั้นเรียน ส่วนของผู้คน และส่วนของคะแนน
- หมายเลข 3 เป็นพื้นที่ในส่วนของสตรีม
- หมายเลข 4 คือ ภาพหน้าปก
- หมายเลข 5 คือ การตั้งค่าห้องเรียน
แนะนำการตั้งค่า
ให้เราเข้า เมนูการตั้งค่าโดยการกดปุ่มรูปเฟืองทางด้านบนมุมขวา
เราสามารถแก้ไขรายละเอียดของชั้นเรียนได้จากตรงนี้
ให้เลื่อนลงมาจนถึงหัวข้อทั่วไป โดยตรงนี้เราสามารถกำหนดเปิดปิดรหัสการเชิญได้ แล้วยังสามารถ copy link ที่เอาไว้สำหรับเชิญนักเรียนได้จากตรงนี้อีกด้วย
ในหัวข้อ steam แล้วสามารถกำหนดรูปแบบการใช้ได้ โดยจะมีอยู่ 3 หัวข้อ ได้แก่
- นักเรียนสามารถโพสต์และแสดงความคิดเห็นได้
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเดียว
- ตัวเลือกที่ 3 คุณครูเท่านั้นที่สามารถโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นได้
ต่อมาหัวข้อการตัดเกรด จะมีให้เลือก 3 ตัวเลือกนั่น คือ
- ไม่มีการตัดเกรด
- คะแนนรวม
- ถ่วงน้ำหนักตามหมวดหมู่
ซึ่งในตัวอย่างนี้เราจะใช้การ ถ่วงน้ำหนักตามหมวดหมู่ โดยมีทั้งหมด 4 หมวดหมู่ ได้แก่
- จิตพิสัย 10 คะแนน
- คะแนนเก็บ 40 คะแนน
- สอบกลางภาค 25 คะแนน
- สอบปลายภาค 25 คะแนน
เมื่อเราแบ่งหมวดหมู่จนครบ 100% ปุ่มบันทึก จะกลายเป็นสีฟ้า ให้เราสามารถกดบันทึกได้
การเพิ่มห้องเรียน
ในกรณีที่วิชาเดียวแล้วเราต้องสอนหลายห้อง เราสามารถคัดลอกหรือ Copy ห้องเรียนที่เราได้ทำการตั้งค่าเอาไว้แล้ว โดยการให้เรากลับไปที่หน้าห้องเรียน โดยการกดที่เมนูหลักที่เป็นปุ่มขีด 3 ขีดตรง มุมบนซ้าย แล้วเลือกชั้นเรียน
เมื่อกลับมาที่หน้าชั้นเรียนแล้ว ให้เราสังเกตตรงจุด 3 จุด ให้เราคลิกที่จุด 3 จุดจะมีเมนู ให้เลือก 4 อัน ให้เราเลือกเมนูคัดลอก จะมีหน้าต่างคัดลอกชั้นเรียนปรากฏขึ้นมา จะมีคำว่าสำเนาของแล้วก็ชื่อห้องที่เรา Copy มาให้เราทำการแก้ไขชื่อชั้นเรียน และชื่อห้อง จากนั้นกดปุ่มคัดลอก ในตัวอย่างนี้เราจะเปลี่ยนเป็นห้อง P402


การนำผู้เรียนเข้าชั้นเรียน
วิธีที่ 1 การเข้าห้องเรียนโดยรหัสชั้นเรียน

ในบัญชีของนักเรียนนักศึกษาให้ทำการเปิด Google Classroom ลิงค์กับของคุณครู https://classroom.google.com/welcome เมื่อเข้ามาแล้วให้กดร่วมชั้นเรียนตรง เครื่องหมายบวก ด้านบน
ตรงหน้าต่าง เข้าร่วมชั้นเรียน ให้ใส่รหัสชั้นเรียนที่ได้จากคุณครูมาใส่ แล้วกดปุ่ม เข้าร่วม เป็นอันเสร็จสิน


วิธีที่ 2 คุณครูเป็นผู้เชิญ
ในหน้าชั้นเรียนให้คุณครูกดไปที่แท๊บ ผู้คน ในแท๊บผู้คนเราสามารถที่จะเชิญคุณครูท่านอื่นเข้าร่วมสอนได้
เราจะทำการเชิญนักเรียนกัน กดปุ่ม เชิญในส่วนของนักเรียน ตามรูปด้านล่าง



กลับมาทางฝั่งของนักเรียน นักเรียนจะได้รับอีเมลล์พร้อมลิงค์ในการเข้าร่วมชั้นเรียน ตามรูปด้านล่าง ให้นักเรียนกดตรง เข้าร่วม เป็นอันเสร็จสิ้น

วิธีที่ 3 เชิญจากลิงค์
ในเมนูตั้งค่าชั้นเรียน ในส่วนทั่วไป คุณครูจะพบลิงก์เชิญ ให้คุณครูกดตรงไอคอนด้านหลังอันที่เหมือนกระดาษสองอันซ้อนกัน เป็นการคัดลอกหรือการ Copy ลิงก์ แล้วเอาไปแชร์ให้นักเรียนกดเข้ามาที่ชั้นเรียนโดยตรงได้เลย

การใส่เนื้อหา
ต่อมาแต่เป็นการใส่เนื้อหาหรือบทเรียน ให้คุณครูกดไปที่แถบงานของชั้นเรียน ต่อมาเราจะมาสร้างหัวข้อกัน
ให้คุณครูกดที่ปุ่มสร้าง จะมีเมนูย่อยขึ้นมาอีกให้เลือกหัวข้แล้วทำการกำหนดชื่อหัวข้อ
แนวทางการกำหนดชื่อหัวข้อ
- แบบที่ 1 ตั้งหัวข้อแยกเป็นแบบรายสัปดาห์
- แบบที่ 2 แยกตามหน่วยการเรียนรู้
- แบบที่ 3 แตกแยกตามประเภท ของเนื้อหา
การแบ่งแยกแบบนี้เพื่อง่ายต่อการจัดระเบียบ




เมื่อตั้งชื่อหัวข้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คุณครูกดปุ่มสร้างอีกครั้งแล้วเลือกที่ตัวเลือกเนื้อหา
เดี๋ยวจะอธิบายไปทีละส่วนให้ฟังเริ่มจาก
- ส่วนที่ 1 คือการกำหนดชื่อเนื้อหา ตื่นชื่อบทเรียน
- ส่วนที่ 2 คือการเขียนคำอธิบายตรงนี้ จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้
- ส่วนที่ 3 สำหรับจะมีให้เลือก 2 ส่วน ส่วนแรก คือ กำหนดว่าจะให้เนื้อหานี้ไปใส่ไว้ที่ห้องใดบ้างหรือชั้นเรียนไหนบ้าง ส่วนที่ สอง คือ การกำหนดว่าเนื้อหาหรือบทเรียนนี้จะให้กับนักเรียนคนไหน หรือให้กับนักเรียนทุกคน
- ส่วนที่ 4 คือการกำหนดว่าเนื้อหาหรือบทเรียนนี้จะให้อยู่ที่หัวข้อไหน ตัวอย่างเช่นถ้าคุณครูกำหนดหัวข้อเป็นแบบรายสัปดาห์ก็ให้เลือกว่าจะใส่บทเรียนอันนี้ไว้ที่สัปดาห์ไหน หรือถ้าคุณครูกำหนดหัวข้อเป็นแบบ หน่วยการเรียนรู้ ก็ให้เลือกว่าจะใส่ไว้ที่หน่วยการเรียนรู้ไหน
ต่อมาให้กดที่ปุ่มเพิ่ม พรุ่งนี้มีไว้อัพโหลดเนื้อหาเอกหรือเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน ถึงจะมี 4 ตัวเลือกให้เราเลือก ในการอัพโหลด
- ตัวเลือกแรกคืออัพโหลดไฟล์จาก Google Drive โดยตรง
- ตัวเลือกที่ 2 คือการแปะลิงค์ไปที่เนื้อหาไปที่เว็บอื่น
- ตัวเลือกที่ 3 คือการอัพโหลดจากคอมพิวเตอร์ของคุณครู
- ตัวเลือกที่ 4 คือการแปะคลิปจาก YouTube
ส่วนปุ่มสร้าง จะเป็นการสร้างเนื้อหาเข้าไปโดยตรงโดยมีตัวเลือกที่เป็นแอปต่างๆของ Google ไม่ว่าจะเป็นเอกสารเป็นสไลด์ สเปชชีส หรือแผ่นกระดานวาดเขียน และแบบฟอร์ม
ในตัวอย่างนี้จะเป็นการอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปให้ กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนหาศึกษาด้วยตัวเอง
เมื่อกำหนดทุกอย่างจนครบหมดทุกอย่างแล้ว กดปุ่มโพส เพื่อให้นักเรียนทุกคนมองเห็นเนื้อหาในสตรีม

การหมอบหมายงาน
ต่อมาเป็นการกำหนดใบงานหรือแบบฝึกหัดให้กับนักเรียน ให้คุณครูกดปุ่มสร้างแล้วเลือกตัวเลือกงาน

ตอนต่อมาเป็นการกำหนดใบงานหรือแบบฝึกหัดให้กับนักเรียน ให้คุณครูกดปุ่มสร้างแล้วเลือกตัวเลือกงาน การกำหนดการตั้งค่าทุกอย่างจะเหมือนกับการสร้างเนื้อหา แต่ก็มีส่วนของวันครบกำหนดการส่ง และเกณฑ์การให้คะแนนที่เพิ่มเข้ามาในส่วนนี้

ลองคลิกที่ปุ่มสร้างเกณฑ์การให้คะแนน แล้วให้คุณครูลงอกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนตามตัวอย่างด้านล่าง


การส่งงานในมุมมองของนักเรียน
ที่หน้าสตรีมให้นักเรียนกดไปที่แท๊บ “งานของชั้นเรียน” แล้วนักเรียนจะเห็นงานที่คุณครูมอบหมายให้ จะรายละเอียดคราวๆ ชื่อของใบงาน เป็นคะแนนส่วนไหม กำหนดส่ง ให้นักเรียนกดที่ “ดูงาน”


หลังจากทำใบงานเสร็จเรียนร้อย นักเรียนก็จะต้องส่งงานที่ทำกลับไปให้คุณครูตรวจด้วย มองไปที่ทางขวามือ ที่เขียนว่า “งานของคุณ” ให้นักเรียนกดที่ “+ เพิ่มหรือสร้าง” เพื่อทำการอัพโหลดงานหรือการบ้าน จากคอมพิวเตอร์ เมื่ออัพโหลดไฟล์งานเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม “ส่ง”

การตรวจงานและให้คะแนน
เมื่อนักเรียนทำงานหรือการบ้านที่ครูสั่งเรียบร้อยแล้ว คุณครูก็จะต้องตรวจและให้คะแนน โดยการตรงงานให้คุณครูไปที่เมนูหลักที่อยู่ที่มุมบนซ้าย มีลักษณะเป็นขีด 3 ขีด แล้วจะมีเมนูย่อยปรากฎออกมา ให้คุณครูกดไปที่ เมนู “รอการตรวจ”


ในหน้านี้คุรณครูจะเห็นว่านักเรียนคนไหนที่ส่งงานมาแล้วบ้าง ให้ทำการกดที่ใบงานเพื่อเข้าไปตรวจและทำการให้คะแนน

การตรวจงานจะมีอยู่ 4 จุดที่เราต้องทำ
- สำรวจที่ใบงานของนักเรียน แล้วทำการเปิดดูเพื่อตรวจใบงานหรือการบ้าน
- ให้กดที่ตำแหน่งที่ 2 เพื่อให้คะแนน
- คุณครูสามารถแสดงความเห็นหรืออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวการบ้านที่นักเรียนส่งมา
- สุดกดปุ่ม “ส่งคืน”
เพียงเท่านี้การตรวจงานเป็นอันเสร็จสิ้น

การสร้างแบบทดสอบ
การสร้างแบบทดสอบ ขั้นตอนจะคล้ายกับการสร้างใบงาน ให้คุณครูไปที่แท๊บ “งานของชั้นเรียน” กดที่ปุ่ม “สร้าง” เลือกเมนูที่สอง “งานแบบทดสอบ”
ให้คุณครูกำหนดลักษณะของแบบทดสอบ
- ชื่อแบบทดสอบ
- สำหรับ นักเรียนชั้นไหน
- หมวดหมู่คะแนน
- คะแนน
- วันครบกำหนด
- หัวข้อ
แล้วสังเกตด้านล่าง จะมี Blank Quiz ให้คุณครูกดที่ Blank Quiz เพื่อทำการสร้างแบบทดสอบจาก Google Form

ส่วนต่างๆ ในการสร้างแบบทดสอบด้วย Google Form ดูภาพด้านล่างประกอบ
- ชื่อของกลุ่มแบบทดสอบ ในแบบทดสอบเราอาจจะแบ่งออกเป็นหลายส่วน เช่น ส่วนแรกเป็นข้อมูลผู้ทำแบบทอดสอบ ส่วนที่สองเป็นแบบทอดสอบแบบปรนัย และส่วนที่สามเป็นแบบทอดสอบอัตนัย เป็นต้น
- คำอธิบายแบบทดสอบ อาจเป็นการกำหนดว่าให้นักเรียนทำข้อสอบยังไง เช่นให้เลือกข้อที่ถูกต้อง ให้เลือกคำตอบที่ถูก
- คำถาม
- ประเภทของคำ ที่ใช้อยู่บ่อยๆ จะเป็น แบบหลายตัวเลือกคือ มีตัวเลือกมาให้ตอบแค่ข้อเดียว แบบช่องทำเครื่องหมาย คือ เลือกหลายคำตอบ และแบบตอบสั้นๆ เป็นการให้นักเรียนพิมพ์คำตอบ หรือเป็นการตอบแบบอัตนัย
- ในกรณีที่เราเลือกประเภทคำตอบเป็น หลายตัวเลือกหรือแบบช่องทำเครื่องหมาย เราจะต้องกำหนดตัวเลือกให้กับคำถามด้วย
- การกำหนดคำตอบที่ถูกต้อง กำหนดคะแนนของคำถาม
- ตัวเลทอกว่าให้บังคับตอบหรือไม่ แนะนำให้เปิดไว้
- ปุ่มเพิ่มคำถาม และปุ่มเพื่อส่วนอื่นของแบบทดสอบ และเพิ่มเนื้อหาระหว่างแบบทดสอบ เช่น รูปภาพหรือคลิปวิดีโอเพื่ออธิบายการทำแบบทดสอบหรือเป็นสื่อประกอบ

เมื่อคุณครูสร้างแบบทดสอบเสร็จหมดแล้วให้กดปิดหน้าที่แบบทดสอบได้เลย ระบบทำการเซฟให้อัตโนมัติ ถ้าคุณใช้ G Suite หรือ บัญชีสถานศึกษา ตรงด้านล่าง Blank Quiz จะมีปุ่มให้ติ๊ก นำเข้าคะแนนจาก Google Form มายังชั้นเรียนได้เลย
สำหรับคุณครูที่ใช้บัญชี Google ธรรมดา คุณครูต้องกดเข้าไปในแบบฟอร์มที่นักเรียนส่งมา แล้วก็กดแก้ไขฟอร์ม ไอคอนรูปดินสอนตรงมุมล่างขวา แล้วกดไปที่การตอบกลับ


ในหน้าการตอบกลับจะแสดงข้อมูลการตอบแบบทดสอบ คุณครูสามารถนำข้อมูลตรงนี้นำไปวิเคราะห์ข้อสอบได้ด้วย
การดูคะแนน ให้คุณครูกดไปที่ไอคอนสีเขียวคล้ายๆ กับ Excel แล้วจะระบบจะถามว่าให้สร้างชีตใหม่เลยไหม ให้กดตกลงไปเลย ระบบจะเปิด Google Sheet พร้อมกับข้อมูลการตอบคำถามนักเรียนทุกคน


ลองดูตัวอย่างการสร้างแบบทดสอบ คุณครูอาจจะลองทำตามเลยก็ได้


การดูสรุปผลคะแนน
มาถึงเรื่องสุดท้ายนั้นคือ การสรุปข้อมูล หน้านี้จะแสดงใบงานและแบบทอดสอบต่างๆ ที่ใช้เก็บคะแนน คุณครูสามารถนำข้อมูลตรงส่วนี้ไปกรอกลงสมุดพกหรือนำไปวิเคราะห์ข้อสอบ


บทส่งท้าย
ก็จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับการใช้งาน Google Classroom ฉบับพื้นฐาน แล้วการนำเสนอในบทความนี้ใช้บัญชีธรรมดาให้ในการนำเสนอ คุณท่านใดที่ใช้บัญชีของสถานศึกษาหรือ G-Suite อาจจะมีบ้างอย่างที่มีเพิ่มเข้ามา แต่เชื่อว่าไม่ได้เป็นปัญหาให้การใช้งาน แล้วหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้การสอนออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ที่กำลังระบาด จนทำให้สถานศึกษาที่อยู่พื้นที่เสี่ยงสูงสามารถดำเนินการสอนต่อไป
[INSERT_ELEMENTOR id=”3008″][INSERT_ELEMENTOR id=”1549″]