สวัสดีครับ บทความนี้จะนำเสนอวิธีการดาวน์โหลด Microsoft Windows 11 ของแท้จาก Microsoft แล้วสอนการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าตรงตามความต้องการของ Windows 11 หรือไม่ สอนการติดตั้งแบบ USB การติดตั้งแบบไม่ใช้ USB หลังจากที่ได้อ่านจบผู้อ่านสามารถนำความรู้นี้ไปติดตั้งได้เอง
หัวข้อในบทความ
- เครื่องมือตรวจสอบความเข้ากันได้
- การเข้าร่วม Windows Insider Program
- ดาวน์โหลด Windows 11
- ติดตั้ง Windows 11
- สร้างตัวติดตั้งด้วย USB
- ติดตั้ง Windows 11 ใน Virtual Machine
ตรวจสอบความเข้ากันได้
เนื่องจาก Windows 11 ต้องการฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างจะใหม่นิดนึง อย่างน้อย Microsoft ก็ประกาศไว้ว่าต้องใช้ CPU Intel Gen 7 เป็นอย่างต่ำ แล้วต้องมี TPM 2.0 ไบออสต้องเป็นแบบ Secure Boot อีก ถ้าเครื่องคอมเก่าๆ ไม่มีเจ้า TPM และ Secure Boot ก็หมดสิทธิ์ใช้ Windows 11
สำหรับใครที่ไม่ทราบว่า TMP หรือ Secure Boot ของเครื่องตัวเองมีหรือเปล่า สามารถใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า WhyNotWin11 ตรวจสอบได้
โปรแกรมไม่จำเป็นต้องติดตั้ง เมื่อดาวน์โหลดแล้วเปิดโปรแกรมได้เลย โปรแกรมใช้เวลาไม่นานในการตรวจสอบ เมื่อโปรแกรมตรวจเสร็จแล้วจะต้องขึ้นเป็นสีเขียวทุกรายการ ถ้ามีหัวข้อใดเป็นสีแดง นั้นแปลว่าเครื่องของท่านไม่สามารถติดตั้ง Windows 11 ได้


เว็บไซต์ : https://github.com/rcmaehl/WhyNotWin11/
ดาวน์โหลดโปรแกรม WhyNotWin11 : https://bit.ly/38GA5Hl
การเข้าร่วม Windows Insider Program
เนื่องจากปัจจุบัน ณ วันที่เขียนบทความนี้ Windows 11 ยังไม่ออกตัวเต็ม ผู้อ่านจึงต้องลงทะเบียน Windows Insider Program เพื่อเป็นการขอเข้าร่วมการทดสอบ Windows 11 ให้ผู้อ่านเข้าไปที่เว็บไซต์ insider.windows.com แล้วเลื่อนลงมาอีกนิดนึงจะเจอกับปุ่ม Register ตรงนี้ต้องใช้ Microsoft Account หรือ บัญชี Outlook ถ้ามีบัญชีของบริษัทที่เชื่อมต่อกับ Azure Active Directory ก็ใช้ได้
หลังจากกดที่ปุ่ม Register แล้ว Sign in ด้วย Microsoft Account แล้ว การลงทะเบียน Windows Insider Program เป็นเรียบร้อย
ดาวน์โหลด Windows 11
หลังจากลงทะเบียน Windows Insider Program แล้ว ให้กลับมาที่ insider.windows.com เลื่อนลงมาจะเจอกับเมนู Quick connect คลิกที่เมนู ISOs

จากนั้นให้เลื่อนลงด้านล่างจนเจอหัวข้อ Select Edition ผู้อ่านสามารถเลือกรุ่นของ Windows 11 ที่ต้องการได้เลย ในบทความนี้จะขอเลือกเป็น Windows 11 Insider Preview (Beta Channel) เมื่อเลือก Edition ได้แล้วให้กดที่ปุ่ม Confirm แล้วเลือกภาษาที่ต้องการ มีภาษาไทยให้เลือกด้วยนะ แล้วกดปุ่ม Confirm อีกครั้ง ปุ่มดาวน์โหลดจะปรากฏขึ้นมา ขนาดไฟล์จะประมาณ 5 GB กว่าๆ

ติดตั้ง Windows 11
เมื่อดาวน์โหลด Winodws 11 ที่เป็น ISO ไฟล์มาแล้ว การติดตั้งก็จะง่ายๆ ให้คลิกขวาที่ไฟล์ ISO แล้วเลือก Mount การ Mount เปรียบเสมือนการใส่แผ่น CD-ROM จากนั้นให้ไปที่ไดร์ที่ Mount ไว้ แล้วเปิดไฟล์ Setup.exe

กด Next แล้วกดยอมรับข้อตกลง แล้วรอให้ตัวติดตั้งตรอจสอบ Update จนเสร็จ เมื่อมาถึงหน้า Ready to install ให้เรากดไปที่ Change what to keep ก่อน ตรงนี้จะมีตัวเลือกให้เราเลือก 3 อย่าง
- Keep personal files and apps อันนี้เป็นเหมือนการอัพเกรด ไฟล์งานและโปรแกรมต่างๆ จะไม่ถูกลบ รวมทั้งพวกโปรแกรมไดร์เวอร์ต่างๆ ด้วย
- Keep personal file only หมายถึงการติดตั้งครั้งนี้จะเก็บแค่ไฟล์งานส่วนตัวของผู้ใช้ โดยจะลบพวกโปรแกรมและไดร์เวอร์ที่ติดตั้งอยู่ ถ้ากลัวว่าลงแล้วจะมีไดร์เวอร์ที่ยังไม่รองรับ Windows 11 จนเกิดจอฟ้า ผู้อ่านควรเลือกติดตั้งแบบนี้ก็ได้
- Nothing ตัวเลือกนี้เหมือนกันการลง Windows ใหม่ ทุกอย่างๆ จะหายไป จริงแล้วไฟล์เก่าๆ จะถูกย้ายมาเก็บไว้ในโฟรเดอร์ Windows.old แทน
เมื่อเลือกได้แล้วให้กด Install เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows 11 จากนั้นก็หากาแฟมานั่งรอชิลๆ อีกไม่นานคอมพิวเตอร์ของผู้อ่านจะกลายเป็น Windows 11



สร้างตัวติดตั้งด้วย USB
นอกจากการติดตั้งจาก ISO ไฟล์โดยตรงแล้ว เรายังสามารถสร้างตัวติดตั้งแบบ USB เพื่อนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่าย การติดตั้งด้วย USB ยังเร็วกว่าการติดจาก ISO ด้วย
สิ่งที่ต้องเตรียม
- ดาวน์โหลด Windows 11 ISO
- USB Drive ขนาดไม่ต่ำกว่า 8 GB
- ตั้งให้ไบออสบูตจาก USB เป็นอันดับแรก
เมื่อเตรียมพร้อมแล้ว เสียบ USB Drive กับคอมพิวเตอร์ แล้วดาวน์โหลดโปรแกรม Rufus ที่เว็บไซต์ https://rufus.ie/th/
เมื่อดาวน์โหลดแล้ว เปิดโปรแกรม Rufus แล้วเลือกไฟล์ ISO ของ Windows 11 จากนั้นให้เซตติ่งค่าต่างๆ ตามภาพด้านล่าง แล้วกดที่ปุ่ม Start จากนั้นก็รอจนกว่ามันจะทำเสร็จ แล้วเราก็นำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้

เกี่ยวกับ USB
USB Drive ที่นำมาทำเป็นตัวติตตั้ง Windows 11 จะต้องไม่มีไฟล์สำคัญเก็บไว้ในนั้น เพราะ Rufus จะทำการลบทุกอย่างทิ้งแล้วสร้างตัวติดตั้งทับลงไป
ติดตั้ง Windows 11 ใน Virtual Machine
ถ้าหากยังไม่มั่นใจที่จะติดตั้ง Windows 11 บนเครื่องจริง เรายังสามารถทดลองติดตั้งบน Virtual Machine อย่างโปรแกรม VirtualBox ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรี ใช้งานง่าย
ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดโปรแกรมก่อน โดยจะดาวน์โหลด 2 ตัว ตัวแรกโปรแกรม VirtualBox และ VirtualBox Extension Pack ลิงค์ดาวน์โหลดอยู่ด้านล่าง แล้วทำการติดตั้งให้เรียบร้อย
เว็บไซต์ : https://www.virtualbox.org/
โปรแกรม VirtualBox : https://bit.ly/3hnoHVR
ตัวเสริม VirtualBox : https://bit.ly/3kTOBBs
ขั้นตอนการติดตั้ง Windows 11 บน VirtualBox
เปิดโปรแกรม VirtualBox แล้วคลิกที่ New เพื่อสร้าง Virtual Machine เพื่อติดตั้ง Windows 11

ตั้งชื่อ Virtual Machine ลงในช่อง Name
Version เลือกเป็น Windows 10 (64-bit)
Memory size กำหนดให้สัก 2000 ~ 4000 MB

กำหนดขนาด Hard Disk จำลอง 256 GB หรือ ถ้าอยากมากกว่านั้นก็ได้
Storage on physicak hard disk เลือกเป็น Dynamically allocated ให้มันค่อยกินเนื้อที่ Hard Disk ถ้าเลือก Fixed size มันจะจองพื้นที่จริงๆ ไปเลย

คลิกที่ Settings เพื่อเข้าปรับแต่งนิดหน่อย

หมวด System ติ๊ก Floppy ออก เราไม่ต้องใช้

ที่แท็บ Processor เพิ่มจำนวน CPU 2 หรือมากกว่านั้น ไม่งั้นมันจะช้าเกินไป

หมวด Storage เลือก Windows 11 ISO ที่เราดาวน์โหลด มาผูกไว้กับ Drive CD-ROM ขั้นตอนทำตามรูปภาพด้านล่าง เสร็จแล้วกดปุ่ม OK เพื่อปิดหน้าต่าง Settings

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว กดปุ่ม Start เพื่อเปิดเครื่อง

กด Next

กด Install now

คลิกที่ I don’t have a product key

เลือก Windows 11 Pro หรือ อยากลอง Edition อื่น ก็เลือกจากตรงนี้เลย


เลือก Custom: Install Windows only (advanced)

กด Next ไปเลย การแบ่ง Partition ไปทำหลังจากติดตั้ง Windows 11 เสร็จ
การแบ่ง Partition ในขั้นตอนนี้เหมาะสำหรับติดตั้ง OS มากกว่า 1 ตัว


เลือกประเทศ Thailand

เลือก Keyboard เป็น US แล้วกด Yes

เลือก Keyboard ภาษาที่สอง กด Add layout แล้วเลือกหา Thai

ตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ถ้ากด Skip for now เพื่อตั้งชื่ออัตโนมัติให้แบบติดตั้ง Windows 10

ขั้นตอนนี้เป็นเลือกรูปแบบการ Sign in
- Set up for personal use เป็นการเข้าสู่ระบบโดยใช้ Microsoft Account หรือ ใช้อีเมลล์ Outlook ในการเข้าสู่ระบบ
- Set up for work or school สำหรับการเข้าสู่ระบบโดยใช้บัญชีบริษัท หรือ สร้างชื่อบัญชีด้วยตัวเอง
ในตัวอย่าง จะเลือกแบบ Set up for work or school

คลิกที่ Sign-in options เพื่อสร้าง Account เอง

คลิก Domain join instead

ตั้งชื่อ ผู้ใช้ หรือ Username

ตั้งรหัสผ่าน และยืนยันรหัสผ่าน


เลือกคำถามและคำตอบ เอาไว้กู้รหัสผ่าน




มีการอัพเดตให้ตั้งแต่แรกเลย

เสร็จแล้ว

บทส่งท้าย
หลังจากที่อ่านมาถึงตรงจุดนี้แล้ว สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การติดตั้ง Windows 10 มาก่อน จะรู้สึกว่ามันไม่ได้มีความแตกต่างอะไรเลย ขั้นตอนต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม แค่มีในเรื่องของ Hardware ที่ต้องมีการตรวจสอบก่อนที่จะทำการติดตั้ง