ขายภาพออนไลน์ยากไหม? ทำได้เลยหลังอ่านจบ

ขายภาพออนไลน์ยากไหม? ทำได้เลยหลังอ่านจบ


บทความนี้ทำขึ้นมาเพื่อให้ใครก็ตามอยากมีรายได้เสริมหรือกำลังมองหาวิธีการหาเงินออนไลน์ โดยนี่จะเป็นการแนะนำการขายภาพออนไลน์ อธิบายทุกขั้นตอน รับรองว่าเมื่ออ่านจบสามารถเริ่มขายได้เลย

ขายภาพออนไลน์

การขายภาพออนไลน์ คือ การนำภาพถ่ายจากกล้องดิติตอลหรือภาพถ่ายจากมือถือ นำมาขายในเว็บไซต์ที่เป็นเอเจนซี่ต่างๆ รายได้ที่จากการขายภาพ คือ ค่าคอมมิชชั่น แต่ละที่จะให้ไม่เท่ากันแล้วแต่เงื่อนไข ถึงแม้จะดูน้อยนิด แต่ถ้ามีภาพเป็นหมื่น เมื่อมารวมกันก็เป็นรายได้ที่ไม่น้อย

ต้นทุน อุปกรณ์

ทุกอย่างต้องมีการลงทุน จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับตัวเรา ขายภาพออนไลน์ก็เช่นกัน สิ่งที่เราจะขาดไม่ได้เลย คือ

กล้องถ่ายรูป

กล้องถ่ายรูป ได้แก่ กล้องมือถือ กล้อง DSLR กล้อง Mirrless ทั้งหมดที่ว่าสามารถนำมาภ่ายภาพขายได้ทั้งนั้น กล้องรูปราคาแพงกับราคาถูก ต่างกันตรงที่ฟังก์ชันการถ่ายรูปที่จะมีมาให้ไม่เท่ากัน ภาพบางภาพกล้องมือถือก็ถ่ายไม่ได้หรือถ่ายได้แต่ก็ยากลำบาก ภาพบางภาพก็ต้องการเลนส์เฉพาะ เช่น ภาพถ่ายมาโคร ดังนั้น ถ้าให้แนะนำจริงๆ ก็ลองจากกล้องถ่ายรูป DSLR หรือ Mirrorless รุ่นเล็กๆ ก่อนก็ได้ ถ้ารุ่งเรืองในสายนี้เชื่อว่าโรคเลนส์งอกมาแน่นอน

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หลังจากภ่ายภาพเสร็จเราก็ต้องนำภาพเหล่ามาทำการแต่ง ตัดต่อ แก้ไขความผิดปกติภายในภาพ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้แนะนำให้มีพื้นที่เยอะๆ หน่อยก็ดี ถ้าทำไปนานๆ ภาพเต็มเครื่องแน่นอน

ซอฟต์แวร์

โปรแกรมแต่งภาพถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญ เมื่อเราถ่ายภาพมาแล้ว เราควรนำภาพนนั้นมาแต่งสี เพิ่มแสงลดแสง แก้ไขความคมชัด โดยเฉพาะการถ่ายภาพมาเป็นไฟล์ RAW ยังไงก็ต้องนำมาภาพโปรแกรมแต่งรูปอยู่แล้ว โปรแกรมแต่งรูปก็มีแบบเสียเงินเช่า แบบซื้อขาด และแบบฟรี

  • แบบเช่น เช่น Adobe Photoshop, Adobe Lightroom
  • แบบซื้อขาด เช่น Affinity Photo
  • แบบฟรี เช่น GIMP และซอฟต์แวร์ที่แถมมากับกล้อง (บางค่าย)
Photoshop - ขายภาพออนไลน์
โปรแกรม Photoshop
โปรแกรม Affinity Photo - ขายภาพออนไลน์
โปรแกรม Affinity Photo
โปรแกรม GIMP - ขายภาพออนไลน์
โปรแกรม GIMP

ส่วนตัวแนะนำให้หัดใช้ Photoshop ดีกว่า ตัวเดียวจบ แต่งได้ทั้งไฟล์ RAW เหมือนกับ Lightroom เด๊ะๆ แถมตัดต่อ รีทัช แต่งเติมได้มากมาย ปลั๊กอินที่ทำมาให้กับ Photoshop ก็มีเยอะจนทำให้การแต่งภาพเป็นเรื่องง่าย

พูดถึงปลั๊กอินแล้ว เราขอแนะนำที่ทางผู้เขียนใช้บ่อยอยู่เป็นประจำ (ไม่ฟรีนะ)

1) Color Efex Pro 4
โปรแกรมแต่งสีมี Preset ให้เลือกมากมาย

Color Efex Pro 4 - ขายภาพออนไลน์
โปรแกรม Color Efext Pro 4

2) Luminar 4
ปลั๊กอินแต่งภาพด้วย AI เพียงคลิดเดียวภาพสวยขึ้นทันที แล้วทีเด็ดสำหรับสาย Landscape สามารถเปลี่ยนท้องฟ้าได้เพียงคลิกเดียวเท่านั้น

โปรแกรม Luminar 4
โปรแกรม Luminar 4

3) Knoll Light Factory
แสงไม่มีไม่ใช่ปัญหา ปลั๊กอินตัวนี้ สร้างแสงเทียมที่เหมือนแสงจริงให้คุณเอง

โปรแกรม Knoll Light Fctory
โปรแกรม Knoll Light Fctory

แนวภาพถ่าย

สำหรับมือใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะถ่ายภาพแนวไหนขายดี อยากจะบอกว่าไม่ว่าแนวไหนก็สามารถขายได้ทั้งหมด การขายภาพเหมือนกับการขายของมีคนซื้อย่อมมีคนขาย ภาพแต่ละแนวความต้องการก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา การถ่ายภาพตามกระแสก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว ไม่ว่าคุณจะถ่ายเองหรือลงทริปกับคนอื่นๆ ก้ได้เช่นกัน เพราะทริปถ่ายรูปที่จัดๆ กันก็เป็นแนวที่ขายได้หรือเป็นแนวที่นิยมในช่วงเวลานั้น

นำตัวอย่างแนวภาพมาให้ดู เป็นเพียงบางแนวเท่านั้น อยากลองหาแนวที่สนใจลองใส่ Keyword ใน Google ดูว่าภาพที่เราสนใจคนอื่นๆ เขาถ่ายแบบไหนกัน

ภาพวิว ทิวทัศน์ (Landscape)
ภาพมาโคร (Macro)
ภาพเงา เค้าโครง (Silhouette)
ภาพพลุ (Firework)
ภาพแนวธุรกิจ (Business)
ภาพแนวเกษียณ (Retirement)

รูปแบบการขาย

ในเว็บขายภาพเกือบทั้งหมดจะมีให้เราเลือกว่าภาพของเราที่อัพโหลดขึ้นไปขายนั้นจะให้ขายในรูปแบบไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่คนที่จะเริ่มขายภาพต้องเข้าใจ

Royalty Free

รูปแบบการขายภาพปกติที่ทางเว๊บจะเลือกให้เป็นค่าเริ่มต้น คำว่า Royalty Free หมายถึง วิธีการอนุญาตให้ใช้ภาพแบบได้ลิขสิทธิ์ ซึ่งภาพถ่ายที่ถูกขายในราคาเหมาจ่ายนั้น สามารถนำใช้สำหรับวัตถุประสงค์เกือบทั้งหมดของธุรกิจคุณ

Editorial

Editorial หรือ ภาพข่าว เป็นภาพประเภทที่ใช้ประกอบตามข่าว หนังสือพิมพ์ บทความในนิตยสาร บทความเกี่ยวกับการศึกษา บล็อกหรือเว็บไซต์ ไม่สามารถใช้ภาพประเภทนี้ในเชิงพานิชย์ได้ เช่น ภาพดาราในงานอีเว้นท์ นักกีฬา ภาพงานอีเว้นท์ ภาพสินค้าที่เห็นแบรนด์ของสินค้าชัดเจน ภาพบุคคลสำคัญ เป็นต้น

การเขียนคำอธิบายภาพ Editorial จะแตกต่างกับการขายภาพแบบปกติ คือจะเขียนระบุวันเวลาและสถานที่และอธิบายเกี่ยวกับภาพเล็กน้อยตามความเป็นจริง ภาพประเภทจะไม่อนุญาติให้มีการตัดต่อ หรือแต่งแสงสีมากจนเกินไปจนทำให้ภาพผิดจากความเป็นจริง

การลงขายภาพประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องแนบ Model Release ในกรณีที่มีบุคคลใดๆ อยู่ในภาพ

Model Release และ Property Release

Model Release คือ เอกสารขอนุญาติเป็นนายแบบนางแบบ จะใช้ต่อเมื่อถ้าเราถ่ายภาพโดยมีบุคคลใดๆ อยู่ในภาพที่เห็นใบหน้าชัดเจนเท่านั้น เช่นการจ้างนายแบบนางแบบมาเป็นส่วนประกอบของภาพ

ในกรณีที่เห็นส่วนต่างๆ แต่ไม่เห็นใบหน้า กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องแนบเอกสาร

Property Release คือ เอกสารการขออนุญาติถ่ายภาพจากเจ้าของสถานที่ เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ราชการ สภานที่ท่องเที่ยวบ้างแห่ง

แบบฟอร์ม Model Release/Property Release สามารถหาโหลดได้จากเว็บที่เราเอารูปไปขาย ซึ่งแต่ละเว็บจะหน้าคล้ายๆ กัน

ส่วนถ้าใครมีแพลนว่าจะขายหลายๆ เว็บ ผมขอแนะนำแอพ Easy Release Pro แบบฟอร์มที่แอพนี้ใช้ได้รับการรับรองจากเว็บขายภาพหลายๆ ที่ เช่น Shutterstock, Dreamtimes, iStock ฯลฯ ราคาแอพอยู่ที่ประมาณ 300 บาท

แอพ Easy Release Pro

บัญชี Exclusive

ตามเว็บขายภาพต่างๆ จะมีส่วนที่เรียกว่า Exclusive หมายถึง ผู้ขายยินยอมที่จะลงขายภาพที่เว็บที่สมัครเป็นแบบ Exclusive เท่านั้น ไม่สามารถนำรูปที่ลงขายแบบ Exclusive ไปลงขายกับเว็บอื่นๆ เด็ดขาด ถ้าถูกตรวจพบอาจจะถูกบัญชีไปเลยก็ได้ หรือถ้าโชคดี เว็บจะให้เราเลือกระหว่างปิดบัญชี Exclusive หรือ ลบภาพในเว็บอื่นๆ ให้หมด

เรทราคาจะสูงกว่าแบบปกติมาก ซึ่งก็ต้องแลกกับการที่เราลงขายได้กับเว็บนั้นเว็บเดียว อันนี้ก็ต้องช่างใจเอาว่าเราจะมีใจให้เว็บนี้เว็บเดียวหรือจะขายหลายๆ เว็บเอา หรือลงเป็น Exclusive บางภาพก็ได้

แบบฟอร์มภาษี

เมื่อเราขายไปภาพได้เงินมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งเวลาจะถอนเงินออกจากเว็บขายภาพ เราจะต้องกรอกแบบฟอร์มภาษีก่อน แล้วกรอกทุกเว็บที่เราไปลงขายด้วย ซึ่งแต่ละเว็บจะมีส่วนของ Tax Center ให้เรามองหาเมนูนี้ในแต่ละเว็บ แล้วทำการกรอกให้เรียบร้อย

แบบฟอร์มที่เราจะเลือกกรอก คือ W-8BEN เป็นแบบฟอร์มภาษีสำหรับคนต่างประเทศที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกับเว็บขายภาพ

ถ้าไม่กรอกได้ไหม? คำตอบคือ ได้ เว็บก็จะยอมให้เราเบิกเงินออก หรือไม่ก็โดนหักภาษีมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น กรอกได้ก็กรอกเถอะครับ ไม่ได้ยากอะไร กรอกแค่ครั้งเดียว หรือบางเว็บปีละ 1 ครั้ง

การเบิกเงิน

หลายๆ เว็บจะมีการกำหนดยอดขั้นต่ำสำหรับการเบิกถอนเงิน เช่น 50 USD 100 USD ซึ่งเราไม่สามารถเบิกถอนไปที่ธนาคารในประเทสไทยได้โดยตรง จึงต้องใช้บริการบัญชีออนไลน์ชื่อดังอย่าง PayPal หรือ Payoneer แล้วค่อยโอนจาก PayPal/Payoneer ไปยังบัญชีธนาคารในประเทศไทย

ระหว่าง PayPal กับ Pioneer ควรใช้อันไหน? คำตอบ คือ Payoneer ให้เรทดีกว่า PayPal นิดหน่อย ถ้าเว็บไหนมีให้โอนไป Payoneer ก็เลือก Payoneer เป็นตัวเลือกแรก บางเว็บไม่มีก็ต้องใช้ PayPal แทน

เว็บไซต์ Payoneer
เว็บไซต์ PayPal

การส่งภาพ (Upload)

หลักจากที่เราถ่ายภาพ แต่งภาพ สมัครสมาชิกเป็น Contributor กันเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าเรื่องการส่งภาพ เมื่ออัพโหลดภาพแล้ว จะส่งเลยไม่ได้ จำเป็นต้องเขียนคำอธิบายรูปภาพ และใส่คีย์เวิร์ด เพื่อให้ลูกค้าค้นหาภาพของเราได้ โดยสิ่งที่จะต้องกำหนดเวลาส่งภาพมีดังนี้

Title คือ ชื่อภาพ
Description คือ คำอธิบายภาพ เขียนให้ยาว และระเอียดได้ยิ่งดี
Keyword คือ คำค้นหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพ เช่น ภาพนกแก้วสีเขียว เราจะใส่คีย์เวิร์ดว่า Bird, Animal, Green, Marcaw, Fly ฯลฯ ควรใส่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าได้สัก 50 คำก็ยิ่งดีเลย ให้ระวังใส่คีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะทำให้ภาพถูกปฏิเสธได้ ตามเว็บขายภาพส่วนมากจะมีเครื่องมือช่วยหาคีย์เวิร์ดด้วย AI มาให้ นับว่าสะดวกมากแต่เราก็ควรตรวจสอบแล้วเพิ่มเข้าไปเองด้วย
Category คือ หมวดหมู่ ต้องกำหนดอย่างน้อย 1 หมวดหมู่ เช่น ภาพนกแก้วสีเขียว เราสามารถกำหนดหมวดหมู่ได้เป็น Animal หมายถึง สัตว์ และ Nature หมายถึง ธรรมชาติ
Model Release/Property Release (ถ้ามี) คือ เอกสารขออนุญาตินายแบบนางแบบ/เอกสารขออนุญาติใช้สถานที่

หลังจากที่กำหนดคำอธิบายและคีย์เวิร์ดเรียบร้อยแล้ว ให้กดที่ปุ่ม Submit ก็เป็นอันเสร็จสิ้น จากนั้นรอฟังผลว่าภาพที่ส่งไปนั้นผ่านตากรรมการหรือไม่

หน้าอัพโหลดภาพ เว็บ Shutterstock
หน้าอัพโหลดภาพ เว็บ Shutterstock
เมื่อถูกปฏิเสธควรทำยังไง (Rejected)

ถ้ากรณีผ่านของเราถูกปฏิเสธ เว็บจะแจ้งเหตุผลที่ภาพเราไม่ผ่านก็ให้เราแก้ไขตามนั้น แล้วส่งใหม่อีกรอบ

เว็บขายภาพแนะนำ

1. Adobe Stock
เว็บ Adobe Stock
2. Getty Image/iStock
เว็บ Getty Image
3. Shutterstock
เว็บ Shutterstock
4. Dreamtimes
เว็บ Dreamtimes
5. 123RF
เว็บ 123RF
6. Depositphoto
เว็บ Depositphoto
7. Bigstock
เว็บ Bigstock
8. Freepik
เว็บ Freepik

ฝังคีย์เวิร์ดในไฟล์ภาพ

ในไฟล์ภาพ มีส่วนที่เรียกว่า Metadata แล้วเราสามารถฝังคีย์เวิร์ดและคำอธิบายไว้ในภาพได้เลย ซึ่งทำให้สะดวกเวลานำไฟล์ภาพไปลงขายหลายๆ เว็บ เว็บเหล่านี้สามารถอ่านข้อมูล Description และ Keyword ได้จากส่วนของ Metadata

โปรแกรมที่สามารถอ่านเขียนข้อมูล Metadata มีหลายโปรแกรม ส่วนมากโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลรูปภาพสามารถทำได้หมด ส่วนโปรแกรมที่ในบทความนี้แนะนำ คือ Adobe Bridge

Adobe Bridge เป็นโปรแกรมฟรี สามารถโหลดมาใช้ได้จากเว็บของ Adobe แม้ว่าจะได้ซื้อโปรแกรมจากทาง Adobe เพียงแค่สมัครสมาชิกไว้ก็พอ หรือถ้ามีบัญชีขายภาพของ Adobe Stock ก็ได้เช่นกัน

หน้าตาโปรแกรม Adobe Bridge
วิธีใส่คีย์เวิร์ด

ให้กดไปที่แทบ Metadata อยู่ที่ด้านบนตรงกลางของตัวโปรแกรม

Metadata

มองตรงหา IPTC Core ที่ด้านซ้ายของจอ คลิกตรง > เพื่อขยายออก จะเห็นช่องให้ใส่ข้อมูลต่างๆ

โฟกัสอยู่แค่ช่อง Headline, Description, Keywords และ Title

Headline กับ Title ให้ใส่ข้อความเหมือน เพราะ บางเว็บอ่านจาก Headline ไม่ก็ Title

IPTC Core Data

เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้ว ให้คลิกเลือกรูปภาพอื่น โปรแกรมจะทำการบันทึกให้อัตโนมัติ สามารถใส่พร้อมกันหลายรูปในกรณีที่มี Description กับ Keywords เหมือนกัน

บทส่งท้าย

ในบทความขายภาพออนไลน์นี้ หวังว่าคนที่สนใจอยากจะหันมาขายภาพที่ตัวเองถ่ายเก็บไว้มาลองลงขายเป็นรายได้เสริม หรือใครที่ทำเป็นอาชีพหวังว่าจะได้ความรู้เพียงที่จะไปต่อยอดได้ สุดท้ายแล้วถ้ามีข้อมูลส่วนไหนผิดพลาดหรือมีบางอย่างที่ไม่พูดถึง สามารถฝากข้อความติดต่อได้ ขอให้ประสบความสำเร็จกับการขายภาพออนไลน์ครับ