บทนำ
จากบทความ รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ ตอนที่ 1 ได้อธิบายเกี่ยวกับ 3 ปัจจัยในการควบคุมปริมาณของแสงไปแล้ว ถ้ายังไม่ได้อ่านคลิกกลับไปอ่านได้ครับ บทความนี้ Basic Photography รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ ตอนที่ 2 จะเขียนต่อในเรื่องรูปแบบการจัดองค์ประกอบ (Composition) ต่างๆ เช่น กฏ 3 ส่วน จุดตัด 9 ช่อง ภาพที่ได้จากเลนส์แต่ละชนิด โทนของภาพที่ให้ความรู้สึกแตกต่างของภาพ ซึ่งผมจะอธิบายให้ง่ายที่สุดเพื่อให้ผู้ที่เริ่มสามารถเข้าใจได้ทันที

White Balance แสงสมดุลสีขาว
White Balance ในกล้อง DSLR เป็นตัวกำหนดโทนสีของภาพให้เป็นไปตามที่ตาเห็น มีหน่วยเรียกเป็น Kevin มีค่าตั้งแต่ 3000 K ถึง 7000 K ถ้าค่า White Balance ต่ำ ภาพที่ได้จะออกเป็นโทนเย็นหรือโทนออกสีฟ้า ถ้า White Balance มีค่าสูงก็จะได้ภาพที่เป็นโทนอุ่นหรือภาพออกโทนสีแดง โดยปกติแล้วกล้องจะใช้เป็นแบบ Auto White Balance ซึ่งตัวกล้องจัดการได้ดี เราจะใช้ต้องปรับค่า White Balance เองต่อเมื่อเราได้ไปถ่ายในสถาที่ที่มีแสงซับซ้อนหรือที่กล้องไม่สามารถหาจุดที่เป็นสีขาวเป็นแหล่งอ้างอิงได้ ในกรณีนี้เราอาจจะต้องปรับค่า White Balance ไปเรื่อยๆ จนได้โทนสีที่ตรงกับตาเราเห็น ซึ่งกล้อง DSLR ทั้งหมดจะมีพรีเซตค่า White Balance มาให้เลือกใช้ตามสภาพแสง เช่น
White Balance Scene | อุณหภูมิ | แหล่งกำเนิดแสง |
---|---|---|
Tungseng | 3200 K | แสงจากหลอดไส้สีส้ม |
Fluorescent | 4000 K | แสงหลอดไฟ ฟลูออเรสเซนส์ |
Daylight | 5200 K | แสงธรรมชาติตอนกลวงวัน |
Flash | 6000 K | แสงจากแฟตช์ |
Cloudy | 6000 K | แสงตอนกลางวันที่มีเมฆ |
Shade | 7000 K | แสงตอนเช้า |

ภาพโทนเย็น

ภาพโทนอุ่น
Lens เลนส์
เลนส์เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อกล้องมาก เป็นส่วนที่รับแสงเข้าบันทึกที่ตัวกล้อง แล้วเป็นส่วนที่ทำหน้าโฟกัสภาพให้ชัดเจน ซึ่งเลนส์มีหลายแบบ หลายราคา การที่จะได้ภาพที่คมชัด ความถูกต้องของสี หรือการบิดเบี้ยว ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณภาพของเลนส์และลักษณะเฉพาะตัวของเลนส์
เลนส์แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ตามระยะของเลนส์
เลนส์มุมกว้าง หรือเลนส์ไวด์ คือเลนส์ที่มีระยะ น้อยกว่า 35mm.
เลนส์มุมปกติ หรือเลนส์มุมปกติเดียวกับสายตามมนุษย์ มีระยะตั้งแต่ 35mm. – 70mm.
เลนส์เทเล หรือเลนส์มุมแคบ หรือเลนส์ซูมระยะไกล มีระยะตั้งแต่ 70mm. ขึ้นไป

Composition การจัดองค์ประกอบของภาพ
พูดถึงการจัดองค์ประกอบของภาพ ภาพจะเป็นภาพถ่ายได้ต้องมีองค์ประกอบของภาพด้วย มีแนวทางการจัดองค์ประกอบ เช่น กฏ 3 ส่วน, จุดตัด 9 ช่อง, เส้นนำสายตา, สมดุลของภาพ สิ่งเหล่านี้ใช้เป็นแนวทางการถ่ายภาพ อาจจะไม่มีทุกองค์ประกอบที่กล่าวมา ทั้งนี้การถ่ายรูปอาศัยสิ่งที่เรียกว่ามุมมองของช่างภาพ จิตนาการ เพราะการถ่ายภาพเป็นศิลป์อย่างหนึ่ง การจะเข้าแนวทางที่ว่ามาข้างต้นจำเป็นต้องอาศัยการถ่ายภาพบ่อยๆ อาศัยการดูภาพมากๆ เรามาดูตัวอย่างภาพถ่ายในแบบต่างๆ ตามแนวทางที่ได้อ่านมาข้างต้นกันครับ
กฎ 3 ส่วน
กฎ 3 ส่วน คือการแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน เช่น ถ่ายภาพวิว สามารถแบ่งให้ ส่วนของท้องฟ้า 1 ส่วน ส่วนที่เป็นพื้นดิน 2 ส่วน
แบ่งเป็น ท้องฟ้า 1 ส่วน พื้นดิน 2 ส่วน

แบ่งเป็น ท้องฟ้า 2 ส่วน พื้นดิน 1 ส่วน
จุดตัด 9 ช่อง
เกิดจากการลากเส้นแบ่งภาพออกเป็น 9 ช่อง แล้วจะเกิดจุดตัด 4 จุด เราเรียกจุดเหล่านี้ว่า “จุดตัด 9 ช่อง” เราก็วางสิ่งที่น่าสนใจบนจุดเหล่านั้น โดยทีทฤษฏีอยู่ว่า โดยทั่วไปมุมบนซ้ายจะเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจ เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ



เส้นนำสายตา
เทคนิคการใช้เส้นนำสายตา คือ การใช้วัตถุใดๆ ก็ได้มีรูปร่างคล้ายเส้นลากผ่าน เพื่อทำให้ภาพนั้นมีมิติขึ้นมา เช่น ถนน แนวเสาไฟฟ้า แนวต้นไม้ เส้นแม่น้ำ เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ
ภาพนี้ใช้เส้นแบ่งเลนส์เป็นเส้นนำสายตา

ภาพนี้ใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นนำสายตา

ภาพนี้ใช้การเรียงกันของต้นไม้เป็นเส้นนำสายตา
ความสมดุล 2 ข้างเท่ากัน (Symmetrical Balance)
การจัดองค์ประกอบแบบสมดุล 2 ข้างเท่ากัน คือการให้โทน วัตถุ น้ำหนักของภาพเท่ากันทั้งซ้ายและขวา หรือ บนและล่าง เรามาดูตัวอย่างภาพกันเลยครับ



บทส่งท้าย
จบกันไปแล้วนะครับ หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจการเลือกใช้เลนส์ไม่ว่าจะเป็นระยะไหนก็ตามก็สามารถถ่ายทอดเรื่องราวอกมาผ่านทางรูปภาพ จากการเลือกโทนของภาพเพื่อสื่ออารมณ์ การเลือกใช้องค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจจะใช้มากกว่าหนึ่งองค์ประกอบ ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพครับ