Basic Photography 1 รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ ตอนที่ 1


บทนำ

รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ ตอนที่ 1 รวบรวมความรู้ต่างๆ สำหรับการถ่ายภาพ เข้าใจง่าย อ่านเสร็จออกไปถ่ายรูปได้อย่างแน่นอน บทความนี้พยายามให้ผู้อ่านเข้าปัจจัยที่ใช้ในการถ่ายภาพ เช่น ความเร็วชัตเตอร์ (Speed Shutter), รูรับแสง (Aperture), ค่าความไวแสง (ISO) โหมดถ่ายภาพพื้นฐานของกล้อง และลักษณะต่างๆ ของเลนส์ หวังว่าให้ผู้อ่านจะได้สนุกกับการถ่ายภาพได้ตามที่ตัวเองต้องการนะครับ

ความเร็วชัตเตอร์ (Speed Shutter)

ความเร็วชัตเตอร์ คือ ระยะเวลาการเปิดรับแสงของม่านชัตเตอร์ การใช้เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ขึ้นอยู่ วัตถุที่ถ่ายว่าเป็นวัตถุที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว ถ้าเป็นวัตถุที่อยู่นิ่งๆ เช่นถ่ายวิว หรือถ่ายคนที่เราขอให้ตัวแบบอยู่นิ่งๆได้ กรณีนี้เราสามารถเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถถือกล้องถ่ายได้ 1/50 ถึง 1/200 ขึ้นอยู่สภาพแสงในสถานที่ ถ้าเป็นวัตถุเคลื่อนที่ เช่น ถ่ายคนวิ่ง ถ่ายรถแข่ง ถ่ายสัตว์ เราจะต้องเลือกใช้ความเร็สชัตเตอร์ที่สูง เพื่อที่จะจับภาพให้นิ่งได้ อาจจะใช้ความเร็วที่ 1/200 1/500 1/1000 1/2000 ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุนั้นเคลื่อนที่เร็วแค่ไหน

ความเร็วชัตเตอร์ เป็นตัวกำหนดปริมาณของแสงที่จะบันทึก การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เช่น ในเวลากลางวันที่มีปริมาณของแสงแดดที่มาก เราอาจจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงเพื่อที่เวลาถ่ายภาพแสงจะได้ไม่โอเวอร์ เช่นเดียวกับเวลากลางคืน หรือที่ที่มีแสงน้อย เราอาจจะต้องใช้ความเร็วต่ำ เช่น 1/10 1 sec 2 sec บางทีเราไม่อาจจะถือกล้องถ่าย เราอาจหาขาตั้งกล้องมาช่วยเราในการถ่ายที่ที่มีแสงน้อย

Motorcycle - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ


ภาพแข่งรถ ที่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมากที่จะหยุดวัตถุให้นิ่งหรือเกิดโมชันเบลอน้อยที่สุด
Ferris wheel - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ
ภาพแสงไฟที่เป็นเส้น เกิดจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ซึ้งเป็นเทคนิคหนึ่งในการถ่ายภาพแสงไฟ
Blur Picture - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ
ตัวอย่างการเกิด Motion Blur ที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าความเร็วของวัตถุ

รูรับแสง (Aperture)

รูรับแสง คือ ขนาดความกว้างของรูที่ปล่อยให้แสงผ่านเข้ามาในที่ตัวกล้อง มีหน่วยเป็น F Stop ในการตั้งค่ากล้องจะแสดงเป็น F1.6 F2.8 F4 F5.6 F8 F11 F22 เรียงจากรูรับแสงกว้างไปถึงรูรับแสงแคบ อธิบายเข้าใจง่ายๆ คือยิ่งค่า F น้อย รู้รับแสงก็จะกว้าง ตรงกันข้ามกับค่า F ที่สูง รูรับแสงก็จะแคบ

รูรับแสง เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ใช้ควบคุมปริมาณของแสงและความชัดลึกชัดตื่นของภาพ
รูรับแสงกว้าง จะเก็บแสงได้เยอะ เหมาะสำหรับถ่าบภาพกลางคืนหรือที่ที่มีแสงน้อย แล้วยังมีเอฟเฟคการเกิดหน้าชัดหลังเบลอ หรือภาพชัดตื้น
รูรับแสงแคบ จะเก็บแสงได้น้อยกว่า ภาพที่ได้จะเป็นภาพชัดลึก คือชัดเกือบทั่วทั้งภาพ เหมาะกับถ่ายภาพวิว

ภาพชัดลึก - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ


ตัวอย่างภาพชัดลึก
ภาพชัดตื้น - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ
ตัวอย่างภาพชัดตื้น สังเกตว่าภาพจะชัดแค่บริเวณที่โฟกัส เป็นผลจากการใช้รูรับแสงที่กว้าง

ถ่ายภาพบุคคล - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ

ตัวอย่างการถ่ายภาพบุคคล ที่ได้หน้าชัดหลังเบลอ จากการใช้รูรับแสงที่กว้าง

ค่าความไวแสง (ISO)

ISO คือค่าความไว้แสงที่กล้องมีให้ ยิ่งค่าความไวแสงสูงกล้องก็จะเก็บแสงได้มากตาม แต่อาจจะทำเกิดสัญญาณรบกวนในภาพหรือที่เรียกกันว่า Noise เหมาะกับใช้ถ่ายเวลากลางคืนหรือในอาคารที่มีแสงน้อยๆ ในกรณีที่เราไม่สามารถปรับความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงให้รับแสงมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว ถึงแม้จะได้ภาพที่มี Noise แต่ยังดีกว่าไม่ได้ภาพเลย

ค่า ISO ที่กล้องมีให้ปรับมีตั้งแต่ ISO 10 50 100 200 400 800 1600 3200 6400 12800 25600 ขึ้นอยู่กับกล้องแต่ละรุ่นจะให้มาเริ่มที่เท่าไร


ภาพแมวสองตัว - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ

ตัวอย่างภาพที่ใช้ค่า ISO ทั้ง 4 แบบ จะเห็นได้ว่าภาพทางขวาสุดจะเห็น Noise ได้อย่างชัดเจน

ผมหวังว่าเมื่อผู้อ่านมาตรงนี้ น่าจะเข้าใจความหมายและหน้าของความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และค่าความไวแสง ซึ่งตอนที่เริ่มถ่ายภาพแรกๆ เราอาจสับสนได้ว่า จะเริ่มปรับจากอะไรก่อน ผมอยากให้ผู้อ่านนึกถึงการเทน้ำลงแก้ว ก็มีปัจจัยที่ทำให้การเทน้ำลงแก้วพอดี หรือน้ำน้อย หรือ เทจนล้น เช่น ถ้าเราเทน้ำจากขวด ถ้าปากขวดกว้างน้ำในแก้วก็จะเต็มเร็ว ชักปากขวกขึ้นเร็วเกินไป น้ำในแก้วก็จัยังไม่เต็ม เปรียบเหมือนกล้องเก็บแสงได้น้อยจนได้ภาพที่มืด หรือเมื่อเราชักปากขวดขึ้นช้าเกินไปจนทำให้น้ำล้นออกมา เปรียบเหมือนกล้องเก็บแสงเยอะเกินจนทำให้ภาพโอเวอร์เสียรายละเอียดของภาพ และถ้าเราชักปากขวดขึ้นพอดีกับปริมาณน้ำเกือบจะเต็มแก้ว เปรียบเหมือนกล้องเราเก็บแสงได้พอดี จะได้ภาพที่แสงกำลังดี

ภาพที่ถ่ายออกมามืด - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ


ภาพแสงน้อย ไม่เห็นลายละเอียดในส่วนมืด
ภาพที่ถ่ายออกมาสว่างพอดี - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ
ภาพแสงพอดี เห็นลายละเอียดครบทุกส่วน
ภาพที่ถ่ายออกมาสว่างเดินไป - รวมพื้นฐานการถ่ายภาพ
ภาพแสงล้นหรือโอเวอร์ ไม่เห็ยลายละเอียดในส่วนสว่าง

บทส่งท้าย

ผมจะแนะนำให้ก่อนสำหรับผู้เริ่มจับกล้องใหม่ๆ อย่างแรกตั้งค่า ISO ไว้ที่ 100 ก่อน แล้วพิจารณาภาพที่เราจะถ่ายว่าเป็นชัดลึกหรือชัดตื้น ถ้าต้องการชัดลึกก็ปรับรู้รับแสงไว้ที่ F8 หรือมากกว่า ถ้าชัดตื้นก็ปรับรูปรับแสงให้กว้าง F1.8 F2 F2.8 ตามสภาพเลนส์ที่มีให้ปรับ แล้วมาดูที่หน้าจอว่าภาพมันมืดหรือสว่างไป ก็ไปปรับความเร็วชัตเตอร์จนได้ความสว่างที่ต้องการ ในกรณีที่ถือถ่ายความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถถือกล้องอาจจะอยู่ราวๆ 1/50 หรือ 1/30 ขึ้นอยุ่กับความนิ่งของผู้ถ่าย แล้วถ้ายังได้ความสว่างของภาพไม่พอ ก็ให้ปรับ ISO จนกว่าจะได้ความสว่างที่ต้อง

ไม่ว่าจะตั้งใจถ่ายภาพมืด หรือสว่างจ้า ขอให้สนุกกับการถ่าบภาพนะครับ…